การจัดการคลังสินค้า
การจัดการคลังสินค้า ( Warehouse Management ) คือ กระบวนการควบคุมและจัดระเบียบทุกอย่างภายในคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การป้อนสินค้าเข้าสู่คลัง ไปจนถึงสินค้าส่งออกจากคลังเพื่อขายหรือบริโภค โดยจะรวมไปถึง การจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง, การบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ ในคลังสินค้า, การจัดสต็อกใหม่ที่เข้ามาในโกดัง, คำสั่งซื้อ การบรรจุสินค้า และการจัดส่ง, การติดตามและการปรับปรุงประสิทธิภาพของคลังสินค้าโดยรวม
วัตถุประสงค์ของการจัดการคลังสินค้า
ประโยชน์ของการจัดการคลังสินค้า
1. ช่วยประหยัดค่าขนส่ง
2. ช่วยประหยัดต้นทุนการผลิต
3. ช่วยให้ได้รับผลประโยชน์จากส่วนลดเพื่อซื้อสินค้าจำนวนมาก
4. ช่วยป้องกันสินค้าขาดแคลน
5. ช่วยสนับสนุนนโยบายการให้บริการลูกค้าของกิจการ
6. ช่วยให้เกิดความพร้อมที่จะเผชิญกับภาวะการเปลี่ยนแปลงของตลาด
การจัดการคลังสินค้ามีกระบวนการอย่างไร?
จัดการคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทำอย่างไร?
1) จัดการพื้นที่ให้เป็นระเบียบ
ทำได้โดยการเขียนแผนผังคลังสินค้าขึ้นมา โดยจะต้องสร้างความสมดุลระหว่างสองสิ่งนั่นก็คือ
1. การจัดหาพื้นที่ที่มีขนาดกว้างเพียงพอสำหรับคลังสินค้าของคุณ
2. ในขณะเดียวกันก็ต้องมีพื้นที่เพียงพอสำหรับพนักงานในการเคลื่อนย้ายสินค้าด้วย
โดยพื้นที่จะแบ่งออกได้ดังนี้
2) ติดป้ายกำกับในคลังสินค้า
การจัดการคลังสินค้าจะมีประสิทธิภาพได้ก็ต่อเมื่อ คุณตั้งชื่อตำแหน่งสำหรับสต็อกสินค้าและมีป้ายกำกับให้มันชัดเจน
ทีมงานในโกดังจะต้องตรวจสอบระบบคลังสินค้าอยู่เสมอว่า “สินค้าประเภทใด อยู่ตำแหน่งใด”
“ หลักการก็คือ : การใช้ตัวอักษรผสมกับตัวเลขในการตั้งชื่อ เพื่อง่ายต่อการเข้าใจ ”
3) การจัดเรียงสินค้าคงคลัง
เมื่อคุณสามารถจัดการตำแหน่งของป้ายกำกับสินค้าในคลังแล้ว..
แล้วตำแหน่งการเรียงสินค้าจะต้องเรียงจากอะไร? อันประเภทไว้ก่อน-หลังดีล่ะ? แล้วมีเกณฑ์อะไรในการเรียงสินค้ากันนะ? ตามมาดูกันค่ะ
คำตอบ : เลือกสินค้าขายดีที่สุดให้อยู่ใกล้กับโซนบรรจุภัณฑ์หรือโซนแพ็คสินค้า
สำหรับผู้อ่านคนไหนที่มองหาโรงงานให้เช่าหรือคลังสินค้าให้เช่า รวมถึงโรงงานและคลังสินค้าในทำเลดีๆ อย่าง โรงงานพระราม 2 หรือ คลังสินค้าบางนา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมกับโชติธนวัฒน์ได้เลย