ข่าวสารและกิจกรรม
cover

4 ขั้นตอน การสร้างโรงงานผลิตอาหาร ให้มีมาตรฐาน

DATE : 24 พ.ย. 2020
VIEW : 10,097

การทำธุรกิจด้านอาหารเมื่อเติบโตขึ้นย่อมต้องการขยายกิจการเป็นโรงงานเพื่อรองรับการผลิตที่มากกว่าเดิม หากเลือกโรงงานให้เช่า ตรงนี้ก็ไม่ค่อยมีอะไรยุ่งยากนักในเรื่องการดำเนินงานขอจัดตั้ง แต่ถ้าต้องการสร้างโรงงานผลิตอาหารเองก็จำเป็นต้องรู้ขั้นตอนต่าง ๆ อย่างถูกต้อง เพื่อไม่ให้มีปัญหาทางด้านกฎหมายตามมา ซึ่งนี่คือ 4 ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจสร้างโรงงานผลิตอาหาร ลองดูว่าท้ายที่สุดจะตัดสินใจสร้างเองหรือเช่าโรงงานไปก่อนดี

ขั้นตอนก่อน การสร้างโรงงานผลิตอาหาร ให้เป็นไปตามมาตรฐาน

 

อย่างไรก็ตามก่อนจะไปศึกษาถึงขั้นตอนต่าง ๆ ก่อนสร้างโรงงานผลิตอาหาร ต้องรู้ว่าในกรณีสถานที่ผลิตอาหารจะถูกยกระดับเป็นโรงงานได้ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2562 โดยเนื้อหาหลัก ๆ คือ มีเครื่องจักรที่ใช้งานตั้งแต่ 50 แรงม้าขึ้นไป หรือมีคนงานมากกว่า 50 คนขึ้นไป จะมีหรือไม่มีเครื่องจักรก็ได้ จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการต่าง ๆ ดังนี้

1. ยื่นเรื่องตรวจประเมินมาตรฐานสถานที่การผลิต

 

ผู้ที่สนใจจัดตั้งโรงงานผลิตอาหารต้องมีการยื่นเรื่องเพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบสถานที่ผลิตและจัดเก็บข้อมูล โดยแนบเอกสารต่าง ๆ ตามที่ถูกร้องขอ ไปยื่นได้ที่ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเตล็ด (One Stop Service Center) ณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในกรณีที่จัดตั้งในกรุงเทพ แต่ถ้าหากจัดตั้งในต่างจังหวัดก็ไปยื่นเรื่องกับสำนักงานสาธารณสุขประจำจังหวัด ซึ่งถ้าใครไม่สะดวกจริง ๆ จะยื่นผ่านช่องทางออนไลน์ก็ได้

 

2. ยื่นเรื่องขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน

 

เมื่อเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบเรียบร้อยและไม่มีปัญหาใด ๆ ก็จะไปสู่การยื่นเรื่องขออนุญาตจัดตั้งโรงงานเพื่อผลิตอาหาร โดยนำเอกสารต่าง ๆ ไปยื่นคำขอที่เดียวกับการยื่นเรื่องตรวจประเมินสถานที่การผลิต มีค่าธรรมเนียม 2,000 บาท ทั้งนี้เอกสารที่ต้องเตรียมไป ได้แก่

  • คำขออนุญาตจัดตั้งโรงงานตามแบบ อ1. 1 ฉบับ
  • สำเนาใบทะเบียนการค้าหรือใบทะเบียนพาณิชย์ 1 ฉบับ
  • สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขออนุญาต 1 ฉบับ
  • แผนที่แสดงที่ตั้งของโรงงานและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในบริการใกล้เคียง
  • แบบแปลนแผนผังที่ถูกต้องตามมาตราส่วน 1 ชุด (ถ้าเป็นต่างจังหวัดใช้ 2 ชุด)
  • แผนผังแสดงสิ่งปลูกสร้างบริเวณที่ดินโรงงาน รวมทั้งระบบกำจัดน้ำเสียและบ่อบาดาล (ถ้ามี)

กรณีเป็นนิติบุคคลจะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมคือ สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล 1 ฉบับ หรือ สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น 1 ฉบับ (นิติบุคคลที่เป็นบริษัท)

 

และถ้าหากผู้ขออนุญาตไม่สะดวกในการมายื่นคำร้องด้วยตนเองก็ต้องมีหนังสือมอบอำนาจกำกับเพื่อเป็นหลักฐานเอาไว้ด้วย

 

3. ได้รับใบอนุญาตเพื่อการผลิต

 

เมื่อผลออกมาว่าผ่านการอนุญาต สามารถดำเนินกิจการได้จะมีการออกเอกสารชำระค่าธรรมเนียมตั้งแต่ 3,000 บาท ไปจนถึง 10,000 บาท หรือมากกว่าอยู่ที่แรงม้าเครื่องจักรหรือจำนวนคนงาน จากนั้นเจ้าหน้าที่มีการส่งมอบใบอนุญาต และเอกสารฉบับนี้จะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่ 3 นับตั้งแต่ได้รับใบอนุญาต ซึ่งเอกสารดังกล่าวมีความสำคัญมาก ต้องแสดงให้ผู้อื่นเห็นได้ในที่เปิดโล่ง มีการติดตั้งด้านนอกโรงงาน

 

4. ดำเนินการขออนุญาตการผลิตอาหาร (รับเลขสารบบอาหาร)

 

แม้ว่าตัวโรงงานจะผ่านแล้วแต่ยังต้องยื่นขออนุญาตเพื่อให้ได้รับเลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตขึ้นมา ซึ่งเลขสารบบอาหารที่ว่านี้ก็คือ ตัวเลข 13 หลักที่เราเห็นกันอยู่ในสัญลักษณ์ อย. บนตัวฉลากบรรจุภัณฑ์นั่นเอง รหัสดังกล่าวบ่งบอกถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์และสถานที่ผลิต แบ่งออกได้ 4 ประเภท คือ

  • อาหารควบคุมเฉพาะ
  • อาหารที่มีการกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน
  • อาหารที่ต้องมีฉลาก
  • อาหารทั่วไป

หากยุ่งยากเกินไป เลือกใช้บริการโรงงานให้เช่าเพื่อผลิตอาหารดีกว่า

จากขั้นตอนต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้นับว่ามีความยุ่งยากอยู่พอสมควร ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการและอาจต้องปรับแก้กันหลายรอบ คงดีกว่าแน่ ๆ หากเปลี่ยนแนวคิดจากการสร้างโรงงานไปเป็นการเช่าโรงงานแทน สมมุติว่ามองทำเล โรงงานพระราม 2 เอาไว้ ก็สามารถเลือกผู้ให้เช่าได้หลายราย โดยข้อดีหลัก ๆ ของการเลือกโรงงานให้เช่าคือ

 

  • ไม่ยุ่งยากเรื่องการขอเอกสาร เพราะโรงงานให้เช่าเหล่านี้จะดำเนินการไว้ให้เรียบร้อยแล้ว
  • ตัวโรงงานผ่านมาตรฐานการผลิต
  • ลงทุนน้อย ไม่ต้องเสียเงินสร้างโรงงานขนาดใหญ่ด้วยตนเองระยะเวลาดำเนินการรวดเร็ว สามารถเดินหน้าธุรกิจได้ทันที
  • ได้ทำเลที่ดี ในราคาที่เหมาะสม

ใครที่มีแนวคิดอยากเริ่มต้นธุรกิจผลิตอาหารเป็นของตนเองแต่มีทุนน้อย หรือไม่มีผู้ช่วยเพื่อดำเนินการในด้านต่าง ๆ เลือกใช้บริการบรรดาโรงงานที่เปิดให้เช่าเพื่อผลิตอาหารโดยเฉพาะ แล้วเอาเวลาไปวางแผนดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จน่าจะดีกว่า

ขอบคุณภาพจากvivi14216 | Pixabay