ข่าวสารและกิจกรรม
cover

6 ข้อแตกต่างระหว่าง การสร้างโกดังสินค้า กับการเช่าโกดัง

DATE : 12 ต.ค. 2020
VIEW : 4,225

สำหรับหลายธุรกิจจำเป็นต้องมีโกดังเพื่อเอาไว้ใช้เก็บสต็อกสินค้า วัตถุดิบ และอื่น ๆ ตามเหมาะสม จึงเชื่อว่าบรรดาเจ้าของกิจการต้องพิจารณากันพอสมควร จะเลือกใช้บริการโกดังให้เช่า หรือ สร้างโกดังสินค้า ด้วยตนเองดี เนื่องจากทั้ง 2 รูปแบบก็มีความแตกต่าง พร้อมทั้งมีปัจจัยหลาย ๆ ด้านต้องพิจารณาให้เหมาะสมมากที่สุด เพราะ การสร้างโกดังสินค้า ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก ด้วยเหตุนี้ทางเราจึงอยากนำเสนอแนวคิดดี ๆ เพื่อให้การตัดสินใจเป็นเรื่องง่ายมากขึ้นว่าระหว่าง คลังสินค้าให้เช่า กับการก่อสร้างด้วยตนเอง จะเลือกแบบไหนที่ตอบโจทย์กับธุรกิจมากที่สุด

 

ความแตกต่างระหว่าง การสร้างโกดังสินค้าเอง กับเลือกเช่าโกดัง

6 ข้อแตกต่างระหว่างการเช่าโกดังสินค้า กับการสร้างโกดังสินค้าเอง มีอะไรบ้างมาลองดูกัน

 

1. ความรวดเร็วในการใช้งาน

ในกรณีที่เลือกสร้างคลังสินค้าเองต้องยอมรับว่ากว่าจะเสร็จกินระยะเวลาไปนานพอสมควร ตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบ การก่อสร้าง การเก็บงาน ซึ่งเมื่อเทียบกับการเลือกใช้บริการคลังสินค้าให้เช่า ตรงนี้จะต่างกันพอตัว เพราะเมื่อดำเนินการติดต่อเช่าเรียบร้อย เซ็นเอกสารทุกอย่างครบถ้วน เสร็จสิ้น ก็สามารถขนวัตถุดิบ สต็อกสินค้าต่าง ๆ เข้าไปได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาก่อสร้างนาน ๆ เทียบแล้วสมมุติว่าการก่อสร้างอาจใช้เวลาเป็นปีเพื่อให้ได้โกดัง 1 หลัง แต่การเช่าใช้เวลาไม่กี่สัปดาห์ หรือไม่กี่เดือนก็ขนย้ายเข้าได้ทันที

 

2. ต้นทุน (ค่าใช้จ่าย)

ตรงนี้ต้องแยกเป็นค่าใช้จ่ายระยะสั้นกับระยะยาว ในการสร้างโกดังสินค้าเอง ค่าใช้จ่ายเริ่มต้น (Initial Investment) ต้องเยอะกว่าเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะค่าวัสดุก่อสร้างและแรงงาน เมื่อสร้างเสร็จก็จะมีค่าใช้จ่ายรายเดือนเกิดขึ้นอีก และยังมีค่าเสื่อมสภาพที่ตามมา ดังนั้นหากสร้างเองก็จะต้องคิดถึงจุดคุ้มทุนด้วย ต่างกับการเลือกเช่าโกดังที่ไม่ต้องมี Initial Investment มีแต่ค่าใช้จ่ายรายเดือน (ค่าเช่า) พร้อมค่าส่วนกลางอื่น ๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับขนาดโกดังที่เช่า อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับความพึงพอใจ และกลยุทธ์ขององค์กรเป็นหลักว่าจะเลือกแบบไหน

 

3. ความรับผิดชอบเพิ่มเติมขององค์กร

คำว่าความรับผิดชอบในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการดูแลคลังสินค้าให้ดีเพียงอย่างเดียว แต่ในกรณีเกิดปัญหาบางอย่างแบบไม่คาดฝันขึ้น เช่น ท่อน้ำตัน หลังคารั่ว ถนนโครงการทรุด น้ำท่วมถนนด้านหน้า ฯลฯ หากเลือกคลังสินค้าให้เช่าตรงนี้จะมีคนเข้ามาให้ความช่วยเหลือ (เจ้าหน้าที่โครงการ, ช่างซ่อมประจำโครงการ) ซึ่งบางครั้งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพราะมันคือความรับผิดชอบของโครงการอยู่แล้ว แต่สำหรับคนที่เลือกสร้างคลังสินค้า ไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นก็ต้องรับผิดชอบเองทั้งหมด ยกเว้นกรณีมีพนักงานที่สามารถซ่อมแซมได้ ไม่ต้องจ่ายเงินพิเศษเพิ่มเติม

 

4. การออกแบบคลังสินค้า

ข้อนี้จัดเป็นอีกความแตกต่างที่เห็นภาพชัดเจนมาก ๆ หากเลือกสร้างคลังสินค้าเอง เจ้าของธุรกิจสามารถออกแบบให้เป็นไปตามที่ตนเองคาดหวังได้ เช่น มีส่วนทางเดินขนาดใหญ่กว่าปกติเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุขณะขนย้ายสต็อกสินค้า มีการสร้างห้องน้ำหลาย ๆ ห้องเพื่อการใช้งานที่รวดเร็วมากขึ้น เป็นต้น แต่สำหรับการเช่าคลังสินค้าจะไม่สามารถดำเนินการออกแบบใด ๆ ตามแบบที่ต้องการได้มากนัก เพราะในส่วนโครงสร้างหลัก ทางโครงการหรือผู้ให้เช่าจะดีไซน์ทุกอย่างมาเบ็ดเสร็จหมดแล้ว จึงต้องใช้งานตามแบบที่ถูกกำหนดเอาไว้นั่นเอง ยกเว้นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่เราสามารถสร้าง หรือปรับแต่งเพิ่มเติมได้ ทั้งนี้ต้องลองคุยกับเจ้าของโครงการถึงเงื่อนไขในการปรับแต่งสถานที่อีกที เพราะแต่ละที่มีเงื่อนไขไม่เหมือนกัน

 

5. มาตรฐานของการก่อสร้าง

สำหรับมือใหม่ หากเลือกสร้างโกดังเองแม้จะใช้บริการช่างมืออาชีพที่มั่นใจได้ ทว่ามาตรฐานการก่อสร้างอาจไม่ครบถ้วน 100% ด้วยความเป็นมือใหม่ และยังไม่เชี่ยวชาญด้านการตรวจงานก่อสร้างโกดัง ยิ่งถ้าไม่ได้มาคุมงานหรือเข้ามาดูการก่อสร้างบ่อย ๆ อาจทำให้โกดังของเราไม่เป็นไปตามมาตรฐานก็เป็นได้
ต่างกับการเลือก คลังสินค้าให้เช่า ที่มีมาตรฐานก่อสร้างคุณภาพ โดยเฉพาะบริษัทที่มีประสบการณ์สร้าง โกดังให้เช่า มาหลายปีอย่างโชติธนวัฒน์ ย่อมสะท้อนถึงคุณภาพ และประสบการณ์ในด้านนี้

 

6. สถานที่ และทำเล

ทำเล หรือ Location ของคลังสินค้าถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะต้องสะดวกต่อการคมนาคมทั้งเข้าเมื่อ และออกนอกเมือง และยังต้องสะดวกต่อการขนส่งไปยัง Port ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสนามบิน หรือท่าเรื่อ ซึ่งหากจะหาพื้นที่สร้างโกดังเองในย่านดี ๆ อาจจะมีค่าใช้จ่ายในการซื้อที่ดิน หรือเช่าที่ดินค่อนข้างสูง แต่ผู้ให้บริการเช่าคลังสินค้าส่วนใหญ่จะแม่นเรื่องทำเล และศักยภาพในการสร้างคลังสินค้าให้เช่าในทำเลดี ๆ เช่นของโชติธนวัฒน์ เรามี คลังสินค้าบางนา ให้เช่า ริมถนนเทพรัตน กม.1 ฝั่งขาออก ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อถนนสุขุมวิท และศรีนครินทร์ ใกล้ทางด่วนบางนา-ท่าเรือ ทางด่วนยกระดับบางนา-บางปะกง วงแหวนตะวันออก กรุงเทพชลบุรี-สายใหม่ (มอเตอร์เวย์) และสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น โดยเรายังมีคลังสินค้าพระราม 2 ในทำเลที่ดีมาก ถือเป็นทำเลประตูสู่เศรษฐกิจภาคใต้เลยทีเดียว

จากข้อแตกต่างทั้ง 6 ประเด็นที่นำเสนอมานี้ จะช่วยให้การพิจารณาเลือกโกดังสินค้าง่ายมากขึ้นกว่าเดิม ด้วยแนวทางหรือวิธีดำเนินกิจการที่แตกต่างกัน ดังนั้นต้องวางแผนและเลือกอย่างเหมาะสมที่สุด ไม่ใช่แค่เรื่องความคุ้มค่าในการใช้งานเท่านั้น แต่ยังหมายถึงแผนธุรกิจที่ดี เพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในอนาคตเพิ่มขึ้นอีกขั้น

 

Image by Pashminu Mansukhani from Pixabay